สวัสดีครับ พอดีทางบ้านกำลังเริ่มธุรกิจขายอาหารออนไลน์แบบไม่มีหน้าร้าน ส่วนตัวริวเองมีความเชี่ยวชาญด้านการทำตลาดออนไลน์อยู่แล้ว ทางบ้านเลยบังคับให้มาช่วยนะครับนะ 555 (แต่จริงๆริวค่อนข้างสนใจโมเดลธุรกิจนี้อยู่พอสมควรนะครับ จริงๆศึกษามาปีกว่าๆละ ก็เลยคิดว่าก็เหมาะดีจะได้ลองเอาแนวทางที่เราคิดไว้มาใช้กับร้านของครอบครัวดู)
แรกๆเราก็ช่วยทำตลาดให้อย่างเดียว ภาพรวมการทำงานเราก็ไม่ได้เข้าไปยุ่งเท่าไหร่ พอเริ่มทำเมนูให้ ที่ตะขิดตะขวงใจมากๆคือ ขายราคานี้ได้เหรอ? ก็ทักไปว่า ลองคำนวนดีๆนะ ระวังขายดีแต่ได้แต่ยอดไม่ได้กำไรนะ พอเราเริ่มยิงโฆษณาให้ ยอดเริ่มเข้าร้านจริงๆจังๆ คราวนี้ไอเดียบรรเจิดกันใหญ่เลยครับ อยากเพิ่มเมนู เราก็ทำเมนูให้ เห็นราคาก็อดไม่ได้ ก็ถามอีกว่า ทำไมถึงขายราคานี้ คิดคำนวนยังไง เค้าก็บอกเอาราคาที่เค้าตั้งใจจะขายมาบวกค่า GP และ VAT ที่แต่ละพาร์ทเนอร์คิดค่าบริการมา
พอริวดูตัวเลข ก็บอกว่ารู้มั้ยขายขาดทุนอยู่ ไม่เชื่อครับ ขาดทุนตรงไหน เงินเข้าทุกวัน ริวเลยคำนวนให้ดู อึ้ง!!!! กันทั้งบาง
เลยคิดว่าอยากเอามาแชร์ให้อ่านกันนะครับ คิดแล้ว จะมาเขียนให้ดูก็กระไรอยู่ เลยคิดว่า ทำเอ็กเซลมาแปะให้ดูน่าจะเข้าใจได้ง่ายกว่า
อธิบายแบบง่ายๆ ข้อผิดพลาดที่คิดว่าเจ้าของร้านส่วนใหญ่เลยทำในการตั้งราคาคือการบวกค่า GP กับ VAT เข้าไปในราคาอาหารตรงๆเลย ถ้าดูจากตัวอย่างตามภาพ เช่นอาหารราคา 40 บาท ค่า GP 30% VAT7% คำนวนออกมาจะได้ราคาขายที่ 52.84 บาท
แต่ในทางปฏิบัติจริงๆแล้ว ค่า GPและVAT ที่พาร์ทเนอร์เค้าคิดจากราคาขายที่เราขายจริงๆครับ ซึ่งในกรณีนี้ หากเราขายที่ราคาขายที่เราตั้งไว้ 52.84 บาท เราจะได้รับเงินจริงๆ 35.88 บาทครับ ราคาหายไป 4 บาทกว่าๆ ซึ่งถ้าเป็นอาหารที่ราคาต้นทุนสูงกำไรน้อย อาจจะมีขาดทุนได้นะครับ
ดังนั้นการตั้งราคาที่เหมาะสมจำเป็นต้องมีการคำนวนเผื่อค่า GP และ VAT แบบก้าวหน้าเอาไว้ด้วย ถ้าตามตัวอย่างในกรณีที่เราอยากขายราคาที่ 40 บาท เราต้องตั้งราคาที่ 60 บาทนะครับ เงินที่เราได้รับจาก พาร์ทเนอร์ จึงจะเป็นราคา 40 บาทที่เราตั้งใจจะขายจริงๆครับ
แต่การตั้งราคาจริงๆมันไม่ได้มีแค่นี้นะครับ มันมีหลายอย่างที่เราต้องคำนึงถึงด้วยเช่นโปรโมชั่น หรือการทำตลาด ฯลฯ ประเด็นเหล่านี้ไว้จะมาเล่าให้ฟังอีกทีครับ^^